วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โครงสร้างเเละปัญหาเศรษฐกิจ

   ลกษณะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีที่เน้นเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การเร่งผลิตทำให้ต้องพึ่งพาการส่งออก นำเข้า และการเงินระหว่างประเทศ เกิดการใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สมดุลและยั่งยืนตามมา เกิดปัญหาการขาดแคลนเงินทุน แรงงานไร้ทักษะและฝีมือ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ขาดการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิต ฯลฯ รัฐบาลจึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย และมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรีบด่วนก่อนที่จะเป็นปัญหาเรื้อรังจนแก้ไขไม่ได้
          ระบบเศรษฐกิจของไทยได้เน้นการเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลักทำให้ต้องพึ่งพาการส่งออก นำเข้า และการเงินระหว่างประเทศ เพื่อเร่งการลงทุนและการผลิตในประเทศ และใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ประสิทธิภาพ โดยไม่มีการผลิตทดแทนทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนตามมา ถึงแม้ไทยจะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง แต่ก็ประสบปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาความยากจนของประชาชนที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งในผลประโยชน์ของการพัฒนา ในระดับรัฐบาลจึงต้องเข้ามาหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว 

การพัฒนาเศรษฐกิจ

      การพัฒนาเศรษฐกิจ  เป็นกระบวนการที่ทำให้รายได้ต่อบุคคลที่แท้จริง ของคนในประเทศเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  
          ประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ เพื่อการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น การวัดว่าประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเครื่องมือสำคัญ คือ รายได้ต่อบุคคล และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เศรษฐกิจ ซึ่งค่าใช้จ่าย หรือรายได้ต่อบุคคลเป็นเครื่องวัดฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถแบ่งประเทศต่าง ๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ประเทศด้อยพัฒนา ประเทศกึ่งพัฒนา และประเทศพัฒนาแล้ว
          ประเทศด้อยพัฒนา  มีลักษณะสำคัญคือ ระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนต่ำ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม อัตราเกิดสูง มีคนว่างงานมาก การออมมีน้อย ขาดแคลนทุน ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ และต้องพึ่งพาอาศัยต่างประเทศมาก
          ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ  ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ปริมาณและคุณภาพของประชากร ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ การสะสมทุน และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
          แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทย  ประเทศไทยได้เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2504 โดยแผนพัฒนาฯ แต่ละฉบับ มีจุดเน้นแต่ละแผนดังนี้
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1     เน้นการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทาง  เศรษฐกิจ
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2     เน้นการพัฒนาสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3     เน้นความร่วมมือของราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้เอกชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4     เน้นความปลอดภัยมั่นคง
 
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5     เน้นในเรื่องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบท
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6     เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาดุลการค้า การคลังและการว่างงาน ตลอดจนความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และการตกต่ำทางฐานะของเกษตรกร
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7     เน้นการกระจายรายได้ และการกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8     เน้นการพัฒนาศักยภาพของคน
          แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9     ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทาง
 
 

ดุลการค้าเเละดุลการชำระเงิน

  ประเทส่วนใหญ่ในโลกนี้จำเป็นจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะการติดต่อสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจทั้งด้านการค้า การลงทุน การคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว และการส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศ การติดต่อกันดังกล่าวจะทำให้มีเงินตราไหลเข้าและไหลออกนอกประเทศ ทำให้เกิดการขาดดุล-เกินดุลการค้า ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบของมูลค่าส่งออกและมูลค่านำเข้าสินค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเป็นการเปรียบเทียบมูลค่าส่งออก-นำเข้า หรือดุลการค้าและดุลบริการ ซึ่งเป็นรายได้จากการท่องเที่ยว การประกันภัย และการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อรวมทั้งสองส่วนกับเงินโอน เงินบริจาค เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ก็จะเป็นรายการของดุลการชำระเงิน ซึ่งหมายถึง รายรับจากต่างประเทศทั้งหมด โดยทั่วไปประเทศกำลังพัฒนามักขาดดุลการค้าประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นปฐมพวกแร่ธาตุและผลผลิตการเกษตร และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีง่าย ๆ มีมูลค่าต่ำกว่าสินค้านำเข้าจากประเทศพัฒนาแล้วที่มักจะเป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่า อย่างไรก็ตาม ประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศอาจมีดุลการชำระเงินเกินดุล เพราะมีการลงทุนหรือมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามามาก สำหรับประเทศไทยตกอยู่ในภาวะขาดดุลการค้า ดุลการชำระเงินมานาน จนกระทั่งหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยก็เริ่มเกินดุลการค้าและดุลการชำระเงินแนวทางที่นิยมใช้ในการแก้ไขการขาดดุลการค้าและการขาดดุลชำระเงินได้แก่ การลดค่าเงิน การตั้งกำแพงภาษี การกีดกันการค้ารูปแบบต่าง ๆ การส่งเสริมการส่งออก และการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ   

เงินเฟ้อเเละเงินฟืด

เงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไป โดยเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อย ๆ  สาเหตุองเงินเฟ้อ มี 2 ประการ คือ เกิดจากอุปสงค์ตึง และเกิดจากต้นทุนผลัก เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อการกระจายรายได้ ความต้องการถือเงิน การสะสมทุน การคลังของรัฐบาล และการค้าระหว่างประเทศ การแก้ไขเงินเฟ้อ ทำได้โดยลดอุปสงค์มวลรวมลง            เงินฝืด  หมายถึง  ภาวะที่ระดับราคาสินค้าละบริการทั่ว ๆ ไป ลดลงเรื่อย ๆ  เงินฝืดเกิดขึ้นเนื่องจากอุปสงค์มวลรวมลดลง เงินฝืดจะทำให้การลงทุนลดลง การจ้างงานลดลง และการว่างงานจะมากขึ้น  การแก้ไขปัญหาเงินฝืด ทำได้โดยกระตุ้นให้อุปสงค์มวลรวมเพิ่มขึ้น
           ภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด   สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศด้อยพัฒนา ประเทศพัฒนา หรือประเทศอุตสาหกรรม ถ้าเป็นภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดอย่างอ่อน ๆ ย่อมเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดอย่างปานกลางและอย่างรุนแรงแล้ว ย่อมสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมากต่อประเทศชาติ  การแก้ไขไม่สามารถกระทำให้สำเร็จลุล่วงในระยะเวลาอันสั้น นอกจากใช้นโยบายทางการเงินและการคลังแล้ว ประชาชนในประเทศจะต้องร่วมมือด้วย เพราะประเทศชาติเป็นเรื่องของคนเป็นจำนวนมาก ไม่เหมือนกับระบบครอบครัว ซึ่งแก้ไขได้รวดเร็วกว่า

พฤติกรรมผู้บริโภค

  พฤติกรรมผู้บริโภค  เป็นการศึกษาถึงการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคแต่ละคน แต่ละกลุ่ม ว่าใช้เหตุผลอะไรเป็นเครื่องตัดสินใจในการแสวงหาสินค้ามาสนองความต้องการ และได้รับความพึงพอใจมากที่สุด
          ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค แบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎีทฤษฎีอรรถประโยชน์เป็นทฤษฎีที่ศึกษาประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการบริโภคดยึกษาความพอใจของผู้บริโภคที่เกิดจากการบริโภคสินค้าและบริการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง โดยตั้งสมมุติในการวัดความพึงพอใจออกมาเป็นตัวเลข   ทฤษฎีเส้นความพอใจเท่ากัน  เป็นทฤษฎีที่อธิบายความพึงพอใจของผู้บริโภคด้วยการเปรียบเทียบความพอใจ แทนที่จะเป็นการวัดความพึงพอใจออกมาเป็นตัวเลข กล่าวคือ ผู้บริโภคสามารถบอกได้แต่เพียงว่าชอบสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มากกว่า น้อยกว่าหรือเท่ากับสินค้าหรือบริการชนิดอื่น ๆ โดยไม่สามารถระบุความแตกต่างออกมาเป็นตัวเลขได้
 

การตลาด

 ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง การที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงซื้อขายสินค้าและบริการกันได้
          ปัจจัยที่กำหนดขนาดของตลาด  ได้แก่ ลักษณะของสินค้า  รวมถึงรูปร่างของสินค้า การบริการ  สีสัน ขนาด ตรา การสื่อสารและการคมนาคม ถ้าสินค้าใดที่สามารถขนส่งจากมือผู้ผลิตไปยังมือผู้บริโภคด้วยระบบการขนส่งที่สะดวกรวดเร็วและประหยัด ย่อมทำให้ตลาดของสินค้านั้นขยายกว้างออกไป ถ้าการสื่อสารดี ก็จะทำให้การติดต่อถึงกันสะดวกและรวดเร็ว สามารถตกลงเจรจาการค้ากันทางการสื่อสารได้ ทำให้ตลาดขยายกว้างขวางยิ่งขึ้น นโยบายของรัฐบาล  ที่เกี่ยวข้องกับตลาดของสินค้าและบริการจะมีผลทำให้ขอบเขตของตลาดขยายหรือแคบลงได้  ความต้องการของตลาด  ตลาดจะขยายตัวออกไปได้กว้างขวางเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้านั้น ๆ  การกระจายรายได้ของประชาชนในประเทศนั้น ๆ  ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยากจน มีรายได้ต่ำ การขยายตัวของตลาดสินค้าบางชนิดจะทำได้ยาก  ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ การบริโภคสินค้านั้น ๆ ในบางครั้งก็มีผลสืบเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรมด้วย 
          ลักษณะของตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์  จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก  สินค้าที่ซื้อขายกันมีลักษณะและคุณภาพเหมือนกันทุกประการ  ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีความรู้เรื่องสภาวะตลาดเป็นอย่างดี  การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้สะดวกรวดเร็ว  ผู้ผลิดรายใหม่จะมีเสรีภาพเข้ามาดำเนินการผลิตในตลาดได้โดยสะดวก
          ลักษณะของตลาดที่มีการแข่งขันอย่างไม่สมบูรณ์  ซึ่งจำแนกออกเป็น  3 ชนิด ย่อย ๆ คือ ตลาดผูกขาดหรือตลาดผู้ขายเพียงรายเดียว  ตลาดประเภทนี้จะมีผู้ขาย ผู้ผลิตเพียงรายเดียว ทำให้สามารถกำหนดราคา ปริมาณการผลิต การจำหน่ายได้อย่างสมบูรณ์แบบ  ตลาดผู้ขายน้อยราย  จะมีผู้ขายไม่มากราย แต่ละรายจะขายสินค้าเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด  ผู้ขายแต่ละรายจะมีอิสระในการกำหนดราคาและจำนวนผลิต โดยไม่กระทบกระเทือนต่อผู้ผลิตรายอื่น

การผลิต

 การผลิต  เป็นกระบวนการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการ
          อรรถประโยชน์ หมายถึง ความพึงพอใจที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
          อรรถประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ  เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตหรือเจ้าของปัจจัยการผลิตต้องนำมาพิจารณาว่า สินค้าหรือบริการนั้น ๆ จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือมีอรรถประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด
          ปัจจัยการผลิต ได้แก่ เจ้าของที่ดิน  หมายถึงที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น ที่ตั้งสำนักงาน เจ้าของแรงงาน  หมายถึง การทำงานทุกชนิดของมนุษย์ทั้งที่ใช้แรงงานกำลังความคิด ความสามารถ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เจ้าของทุน  หมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้หรือเงินทุนที่ใช้ในการซื้อหาปัจจัยการผลิตอื่น ๆ  ผู้ประกอบการ  หมายถึง บุคคลที่หรือกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งองค์การผลิตขึ้น เพื่อผลิตสินค้าและบริการ
          ผลตอบแทนของเจ้าของปัจจัยการผลิต  ในระบบการผลิตซึ่งต้องอาศัยปัจจัยการผลิต จึงจะทำให้ได้รับผลผลิตตามที่ต้องการ และสามารถนำออกจำหน่ายสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ สำหรับเจ้าของปัจจัยการผลิตนั้นก็จะได้รับผลตอบแทนดังนี้ เจ้าของทุน  ค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ย  เจ้าของแรงงาน  ค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง เจ้าของที่ดิน  ค่าตอบแทนเป็นค่าเช่า ผู้ประกอบการ ค่าตอบแทนเป็นกำไร
          ต้นทุนการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เนื่องจากการใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ  ต้นทุนการผลิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่เกิดจากค่าใช้จ่ายประจำที่ไม่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิต ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในจำนวนที่คงที่ เช่น ค่าเช่าที่ดิน ต้นทุนผันแปร เป็นค่าใช้จ่ายที่ผันแปร ซึ่งจะมีปริมาณรายจ่ายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต ถ้าผลิตในปริมาณมากก็จะเสียต้นทุนมาก ถ้าผลิตปริมาณน้อยก็จะเสียต้นทุนน้อย และถ้าไม่มีการผลิตก็ไม่ต้องจ่ายเลย เช่น ค่าน้ำค่าไฟฟ้า
 

อุปสงค์ อุปทาน เเละดุลยภาพ

  อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่าง ๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
          เส้นอุปสงค์สามารถสร้างได้จากข้อมูลในตารางอุปสงค์ ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคา และปริมาณซื้อ โดยปกติเส้นอุปสงค์จะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา เส้นอุปสงค์สามารถเปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น โดยอยู่ทางขวามือหรือทางซ้ายมือของเส้นเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ทำให้จำนวนซื้อมากขึ้นหรือน้อยลง
          อุปทาน  คือ  จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย  ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
          ราคาดุลยภาพ  เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน ซึ่งอาจทำให้ราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
          โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา) ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภคเดือดร้อน

ความหมายของเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษากิจกรรมเศรษฐกิจของมนุษย์ในการเลือกหาทางที่จะใช้ปัจจัยการผลิต
ที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์ รวมถึงการกระจายเเละบริโภคเเบ่ง
เป็น
เศรษฐกิจ (Economy) คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค ซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่าง จากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้าง ดังนี้
การผลิต หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ทั้งที่เป็นมูลค่า หรือประโยชน์ใช้สอย (Use Value) และมูลค่าในการแลกเปลี่ยน (Exchange Value) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นการผลิตจึงเป็นการสร้างคุณค่าของสินค้าที่สามารถสนองตอบความต้องการของมนุษย์ (Utility)
การสร้างคุณค่าของสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์นั้นได้พัฒนาการมาพอจะสรุปได้
การบริโภค เมื่อกล่าวขึ้นอย่างลอยๆ อาจหมายถึง การรับประทานอาหาร แท้จริงแล้วการบริโภคนั้นมีความหมายว่า การใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง โดยสิ่งที่มีอยู่นั้นจะเสื่อมสภาพ ร่อยหรอ หรือหมดไปในชั่วระยะเวลาหนึ่ง และอาจต้องหาสิ่งใหม่มาเพิ่มเติมเมื่อต้องการใช้อีก มักใช้คู่กับคำว่า การอุปโภค หมายถึงการใช้สิ่งที่มีอยู่แต่จะไม่หมดไป หรือสามารถทดแทนได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องไปสรรหา รวมเป็น การอุปโภคบริโภค แต่ผู้ที่สามารถทำทั้งการบริโภคและการอุปโภคจะเรียกว่า ผู้บริโภค เพียงอย่างเดียว
ในทาง
เศรษฐศาสตร์ สินค้าและบริการสามารถนับเป็น สิ่งที่มีอยู่ ได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าบริการจะเป็นเพียงนามธรรม แต่บริการก็สามารถเกี่ยวโยงกับรูปธรรมอื่นๆ ที่สามารถบริโภคได้ เราจึงพบเห็นคำว่า การบริโภคสินค้าและบริการ อยู่บ่อยๆการจำเเนกเเจกจ่าย ปัจจุบันคนไทย ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพมาเป็นอันดับต้นๆ จากผลสำรวจของคนไทยในกลุ่มวัยทำงานมักจะมีชีวิตที่เร่งรีบอยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นกลุ่มที่พิถีพิถันกับการดูแลตัวเองและสุขภาพอีกด้วย ในเรื่องของกระดูกก็เช่นกัน คนไทยได้เริ่มหันมาใส่ใจในเรื่องของกระดูกเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูงแอนลีน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถือกำเนิดมาจากบริษัทฟอนเทียร่า แบรนด์ส จำกัด หรือแต่ก่อนรู้จักในชื่อ บริษัท นิวซีแลนด์ มิลด์ จำกัด ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศนิวซีแลนด์ และถือได้ว่าเป็นผู้นำด้านธุรกิจผลิตภัณฑ์นมและอาหาร โดยปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ภายใต้ปรัชญาบริษัท คือ DAILY FOR LIFE มีการดำเนินงานในรูปแบบของเครือข่ายการจำหน่ายในกว่า 40 ประเทศทั่วโลกทั้งยุโรป และเอเชีย ในเอเชียสามารถทำรายได้ให้แก่บริษัทถึง 30 % 
สินค้า
ในปัจจุบัน เราอาจจะได้ยินคำว่า นาโน กันอย่างมากมาย จนดูเหมือนว่าเป็นการเติมคำนำหน้า เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และให้เกิดความทันสมัย เรื่องราวเกี่ยวกับความตื่นตัวทางด้านนาโนเทคโนโลยีเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เฉพาะแต่เพียงประเทศไทยเท่านั้น ทั้งงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การจดสิทธิบัตรต่างๆ หรือการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี หลายคนอาจจะคิดว่านาโนเทคโนโลยีเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องไกลตัว หรือเข้าใจได้ยาก แต่สำหรับตอนนี้นาโนเทคโนโลยีได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นจำนวนมาก บทความนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนาโนเทคโนโลยี จากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดโดย Project on Emerging Nanotechnologies ของสหรัฐอเมริกา พบว่าในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป มากกว่า 500 รายการ ในการจัดกลุ่มสินค้าตามลักษณะการนำไปใช้งานแสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพมีจำนวนมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของผลสำรวจทั้งหมด แผนภาพแสดงจำนวนสินค้าในแต่ละกลุ่ม แสดงดังรูปที่ 1 
บริการ
คือ สิ่งที่ให้ความพอใจกับเราได้เช่นกัน เเต่ไม่สามารถจับต้องได้ เอาไปไหนมาไหน ไปเป็นกรรมสิทธิ์ของ
ไม่ได้ เช่น บริการเกี่ยวกับความบันเทิงต่างๆ คุณไปดูหนัง ดูคอนเสิร์ต สวย ไปเที่ยวชายหาด,ล, ถือว่าเป็น
บริการเพราะคุณเอากลับบ้านด้วยไม่ได้(คุณเอาพระเอก ศิลปิน นักเเสดง ช่างตัดผม หมอฟัน พนักงานเสริมสวย ชายหาด ,ล, กลับบ้านด้วยไม่ได้) ความพอเข้าใจนะครับ
เศรษฐทรัพย์
ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์มหาภาคเเละการบัญชี เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับการบริการเศรษฐทรัพย์ คือ สินค้าทาง
เศรษกิจที่สามารถจับต้องได้หรือมีคุณสมบัติทางกายภาพ รวมทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถโอนไปให้กับผู้
ซื้อได้เเละสามารถเปลี่ยนเจ้าของจากผู้ขายไปให้กับลูกค้าตกค่าง
ที่ดิน
ที่ดินที่มีหรือสังาหริมทรัพย์ประเภทพาณิชยการหรืออุตสาหกรรมที่ถูกปล่องปละละเลยใช้งานไม่สมค่าหรือถูกทิ้งร้างเเละเป็นเหตุให้การขยายการฟื้นฟูหรือการพัฒนาเมืองต้งอประสบความยุ่งยาก หรือในเเง่ของสิ่งเเวดล้อมถือเป็นที่ดินที่ยังมีมลภาวะหรือมีมลพิษค้าง
ปัจจัยการผลิต
ก็คือ สิ่งต่างๆ ต้องใช้ในกระบวนการสร้างสินค้าเเละบริการ ปัจจัยการผลิต คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้อง
นำมาใช้ในกระบวนการผลิต สินค้าหรือบริการเเต่ละชนิด ต้องการใช้ปัจจัยการผลิตที่เเตกต่างกัน เช่น การ ปลูกถั่วเขียวก็อย่างหนึ่ง การทอผ้าก็อีกอย่างหนึ่ง บริการทางการศึกษาก็อีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งสินค้าเเละบริการเเต่ละตัวก็จะมี ความสัมพันธ์ทางผลิตหรือเรียกว่าฟังก์ชั่นการผลิต(production function)ไม่เหมือนกัน เช่นปัจจัยการผลิตถั่วเขียว ก็คือ ที่ดิน เมล็ดพันธุ์ น้ำ ปุ๋ย จอบ อุปกรณ์การเกษตรอื่นๆ ตัวเกษตร เป็นต้น ส่วนปัจจัยการผลิต ผ้าผืน ที่ดิน โรงงาน เครื่องทอผ้า เส้นใย น้ำ ไฟฟ้า อุปกรณ์การผลิตต่างๆสาวโรงงาน เป็นต้นเเต่เนื่องจากการผลิตสินค้าเเละบริการต่างๆ ในโลกนี่มันมากมายหลายรายการมาก นักเศรษฐศาสตร์(พวกที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจ)
เเรงงาน
หมายถึง ทรัพยาการมนุษย์ที่นำไปใช้ผลิตสินค้าเเละบริการต่างๆ ทั้งท้ใช้ความสามารถด้านกำลังกายเเละด้านสติปัญญา ได้เเก่ ผู้มีส่วนร่วมในกำรผลิตในทุกสาขาอาชีพ